(แปลจาก Open Government Data Principles ที่ resource.org)

ข้อมูลภาครัฐจะถูกนับว่าเปิด ก็ต่อเมื่อมันถูกเปิดเผยต่อสาธารณะในวิธีที่ต้องตรงตามหลักการดังต่อไปนี้ :

  1. สมบูรณ์ (complete) – ข้อมูลสาธารณะทั้งหมดถูกเปิดให้ใช้ได้ ข้อมูลสาธารณะหมายถึงข้อมูลที่ไม่ขัดกับข้อกำหนดความเป็นส่วนตัว ความมั่นคง หรือเอกสิทธิ์ที่ชอบด้วยเหตุผล
  2. ชั้นแรก (primary) – ข้อมูลถูกรวบรวมที่ต้นทาง มีความละเอียดข้อมูลถึงระดับสูงสุดที่เป็นไปได้ ไม่ได้อยู่ในรูปแบบผลรวมหรือรูปแบบที่ถูกแก้ไข
  3. ทันการณ์ (timely) – ข้อมูลถูกเปิดให้ใช้อย่างรวดเร็วที่สุดตามความจำเป็น เพื่อรักษาคุณค่าของข้อมูลดังกล่าว
  4. เข้าถึงได้ (accessible) – ข้อมูลถูกเปิดให้ใช้ได้โดยประเภทต่าง ๆ ของผู้ใช้ที่กว้างที่สุด เพื่อวัตถุประสงค์ที่กว้างที่สุด
  5. ประมวลได้โดยเครื่อง (machine processable) – ข้อมูลถูกจัดโครงสร้างอย่างสมเหตุผล เพื่อให้ประมวลผลอัตโนมัติได้
  6. ไม่เลือกปฏิบัติ (non-discriminatory) – ข้อมูลถูกเปิดแก่ทุกคน โดยไม่ต้องลงทะเบียนเพื่อใช้
  7. ปลอดกรรมสิทธิ์ (non-proprietary) – ข้อมูลถูกเปิดให้ใช้ในรูปแบบข้อมูลที่ไม่มีองค์กรใดมีสิทธิขาดในการควบคุมแต่ผู้เดียว
  8. ไม่ต้องขออนุญาต (license-free) – ข้อมูลไม่ตกอยู่ภายใต้กฎระเบียบใด ๆ ด้านลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า หรือความลับทางการค้า การกำหนดขอบเขตความเป็นส่วนตัว ความมั่นคง และเอกสิทธิ์ที่ชอบด้วยเหตุผล นั้นอาจอนุญาตให้ทำได้

การระบุว่าทำตามหลักการนี้หรือไม่ จำเป็นต้องพิจารณาตรวจสอบซ้ำได้

นิยาม

  1. “สาธารณะ” หมายถึง
    หลักการข้อมูลภาครัฐแบบเปิดดังกล่าวนี้ ไม่ได้ระบุว่าข้อมูลใดที่ควรเป็นข้อมูลสาธารณะและควรเปิด ข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว ความมั่นคง และข้อกังวลอื่น ๆ อาจกันไม่ให้ชุดข้อมูลจำนวนหนึ่งถูกเปิดให้สาธารณะร่วมใช้ ทั้งนี้เป็นไปตามกฎหมายและตามความเป็นธรรม สิ่งที่หลักการเหล่านี้ระบุคือ เงื่อนไขที่ข้อมูลสาธารณะควรจะทำตามให้ได้ เพื่อจะถูกนับว่า “เปิด”
  2. “ข้อมูล” หมายถึง
    สารสนเทศหรือบันทึกที่ถูกจัดเก็บแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น เอกสาร ฐานข้อมูลหนังสือสัญญา บันทึกการพิจารณาคดี และ บันทึกภาพและเสียงของเหตุการณ์
    แม้ทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ได้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วัตถุทางกายภาพ จะไม่อยู่ในหลักการข้อมูลภาครัฐแบบเปิด แต่การทำทรัพยากรต่าง ๆ ดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเรื่องที่ได้การสนับสนุนเสนอ เพราะจะทำให้มันเป็นไปได้ที่จะเปิดสารสนเทศดังกล่าว
  3. “พิจารณาตรวจสอบซ้ำได้” หมายถึง
    ต้องมีบุคคลติดต่อที่รับมอบหมายโดยเฉพาะเพื่อตอบสนองคนที่พยายามจะใช้ข้อมูลดังกล่าว
    ต้องมีบุคคลติดต่อที่รับมอบหมายโดยเฉพาะเพื่อตอบสนองการร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดหลักการดังกล่าว
    ศาลปกครองหรือศาลยุติธรรมต้องมีอำนาจศาลที่จะพิจารณาตรวจสอบได้ว่า หน่วยงานได้ปฏิบัติตามหลักการข้างต้นอย่างถูกต้องเหมาะสม

ดาวน์โหลด: PDF, OpenDocument

อัปเดต 2009.09.18: @kengggg และ @bact จาก @opendream ไปคุยเรื่อง Open Gov Data นิดหน่อยที่รายการ @mcotdotnet – วีดิโอ

อัปเดต 2010.06.29: รัฐบาลสหราชอาณาจักรเผยแพร่หลักการข้อมูลสาธารณะ Public Data Principles

เอกสารแนบ 

  • opengovdata-principles-thai.pdf
  • opengovdata-principles-thai.odt